ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community)


จำนวนผู้อ่านบทความ : 669

-  ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ปี พ.ศ.2549 ที่บาหลี ผู้นำอาเซียนได้แสดงเจตนารมณ์ใน Bali Concord II เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2563 ประกอบด้วยประชาคมในสามเสาหลัก ในส่วนของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนมีเป้าหมายให้อาเซียนเป็นประชาคม ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการให้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน โดยมีแผนปฏิบัติการด้านสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Plan of Action) ระบุอยู่ในแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (Vientiane Action programme-VAP) และต่อมา ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามใน Cebu Declaration on the Acceleration of the Establishment of an ASEAN Community by 2015 เร่งรัดการเป็นประชาคมฯ เร็วขึ้นอีก 5 ปี คือ จากปี พ.ศ.2563 เป็นปี พ.ศ.2558

-  ในการมุ่งไปสู่การเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรม  อาเซียนได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint) โดยจัดประชุมเพื่อยกร่างแผนงาน 4 ครั้ง (ไทยเป็นเจ้าภาพจัดครั้งที่ 1 และ 3 ระหว่างวันที่ 11-13 มีนาคม และระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม, ลาว ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 28-29 เมษายน และฟิลิปปินส์ ครั้งที่ 4 โดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ได้ให้การรับรองแผนงานฯ

-  แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint) ประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่ 1. การพัฒนามนุษย์ (Human Development) 2. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection) 3. สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights) 4. ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) 5. การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building an ASEAN Identity) 6. การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap) องค์ประกอบย่อยของแต่ละด้านมีดังนี้

A.  การพัฒนามนุษย์
A1.  ให้ความสำคัญกับการศึกษา
A2.  การลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
A3.  ส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม
A4.  ส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศ
A5.  การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงประยุกต์
A6.  เสริมสร้างทักษะในการประกอบการสำหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
A7.  พัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการ
B.  การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
B1.  การขจัดความยากจน
B2.  เครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมและความคุ้มกันจากผลกระทบด้านลบจากการรวมตัวอาเซียนและ  โลกาภิวัฒน์
B3.  ส่งเสริมความมั่นคง และความปลอดภัยด้านอาหาร
B4.  การเข้าถึงการดูแลสุขภาพและส่งเสริมการดำรงชีวิตที่มีสุขภาพ
B5.  การเพิ่มศักยภาพในการควบคุมโรคติดต่อ
B6.  รับประกันอาเซียนที่ปลอดยาเสพติด
B7.  การสร้างรัฐที่พร้อมรับกับภัยพิบัติและประชาคมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น
C.  ความยุติธรรมและสิทธิ
C1.  การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการสำหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
C1.  การคุ้มครองและส่งเสริมแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน
C1.  ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ
D.  ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
D1.  การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก
D2.  การจัดการและการป้องกันปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมข้ามแดน
D3.  ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของประชาชน
D4.  ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม (อีเอสที)
D5.  ส่งเสริมคุณภาพมาตรฐานการดำรงชีวิตในเขตเมืองต่างๆ ของอาเซียน และเขตเมือง
D6.  การทำการประสานกันเรื่องนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและฐานข้อมูล
D7.  ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรชายฝั่ง และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน
D8.  ส่งเสริมการจัดการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
D9.  ส่งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากรน้ำจืด
D10.  การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการต่อผลกระทบ
D11.  ส่งเสริมการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน
E.  การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
E1.  ส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียน และความรู้สึกของการเป็นประชาคม
E2.  การส่งเสริมและการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน
E3.  ส่งเสริมการสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรมและอุตสาหกรรม
E4.  การมีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชน
F.  การลดช่องว่างทางการพัฒนา

ที่มา:http://www.mfa.go.th/asean