หมู่ที่ 13 บ้านม่อนยะ


จำนวนผู้อ่านบทความ : 109

บ้านม่อนยะ

หมู่ที่ 13  ตำบลแม่วิน  อำเภอแม่วาง  จังหวัดเชียงใหม่

***************

ประวัติความเป็นมา

           บ้านม่อนยะ หมู่ที่ 13 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2423 โดยมีผู้นำคนแรกชื่อว่านายหยี เลาว้าง โดยได้พาชาวบ้านมาตั้งรกรากประมาณ ปี พ.ศ.2423 – 2498 และมีผู้นำคนที่ 2 ชื่อว่านายเหลือ  เลาซัง ประมาณปี พ.ศ.2500 – 2513 และคนที่ 3 ชื่อว่านายเน้ง  เลาลี ปี พ.ศ.2513 – 2524 ซึ่งขณะนั้นยังเป็นหมู่บ้านห้วยข้าวลีบ หมู่ที่ 8 ตำบลแม่วินอยู่ และต่อมาปี พ.ศ.2525 จึงได้แยกหมู่บ้าน มาเป็นบ้านม่อนยะจนถึงปัจจุบัน แบ่งการปกครองออกเป็น 7 ป๊อก ได้แก่

           1)  บ้านม่อนยะเหนือ

           2)  บ้านม่อนยะใหม่

           3)  บ้านม่อนยะใต้

           4)  บ้านม่อนยะกลาง

           5)  บ้านป่าไผ่

           6)  บ้านห้วยเย็นม้ง

           7)  บ้านขุนแม่เตียนม้ง

 

รายชื่อผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีจำนวน 7 คน ดังนี้

           1)  นายเน้ง      เลาลี               ปี พ.ศ. 2525 - 2527

           2)  นายซัว       แซ่วะ               ปี พ.ศ. 2528 - 2535

           3)  นายเปา      ลีโภชนะชัย        ปี พ.ศ. 2536 - 2540

           4)  นายสุเนตร   แซ่ย่าง              ปี พ.ศ. 2541 - 2544

           5)  นายโก๊ะ      ลาวโซ้ง             ปี พ.ศ. 2545 - 2547

           6)  นายหยี      เลาว้าง             ปี พ.ศ. 2548 - 2554

           7) นายยิ่ง       ลีโภชนะชัย        ปี พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน

 

อาณาเขตติดต่อ

           ทิศเหนือ         ติดต่อกับ     บ้านห้วยหอย หมู่ที่ 19 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง

           ทิศใต้             ติดต่อกับ     บ้านแม่เตียน หมู่ที่ 18 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง

           ทิศตะวันออก    ติดต่อกับ     ห้วยน้ำวาง หมู่ที่ 13 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง

           ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ     บ้านแม่แฮเหนือ ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม

 

พื้นที่ทั้งหมดของหมู่บ้านม่อนยะ 

           10.26 ตารางกิโลเมตร

 

ลักษณะภูมิอากาศ

           ฤดูหนาว         ช่วงเดือน  พฤศจิกายน  ถึงเดือนกุมภาพันธ์

           ฤดูร้อน           ช่วงเดือน  มีนาคม  ถึงเดือนพฤษภาคม

           ฤดูฝน            ช่วงเดือน  มิถุนายน  ถึงเดือนตุลาคม

จำนวนประชากร

           -   จำนวนครัวเรือน                 197  ครัวเรือน

           -   จำนวนประชากรทั้งหมด     1,452  คน

               แบ่งเป็นชาย             751 คน

               แบ่งเป็นหญิง            701 คน

 

จำนวนผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป)

           -   จำนวนผู้สูงอายุ         91  คน

               แบ่งเป็นชาย             45  คน

               แบ่งเป็นหญิง            46  คน

 

คนพิการ

           -   จำนวนผู้พิการ           11  คน

               แบ่งเป็นชาย             7   คน

               แบ่งเป็นหญิง            4   คน

 

การประกอบอาชีพ

           1) เกษตรกรรม (ทำไร่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์)      จำนวน 247  ครัวเรือน

           2) ค้าขาย                                               จำนวน     3  ครัวเรือน

 

จำนวนกลุ่มกิจกรรม/อาชีพ มีจำนวน 4 กลุ่ม ดังนี้

           1) กลุ่มสหกรณ์บ้านม่อนยะ

           2) กลุ่มพืชผักเมืองหนาว

           3) กลุ่มปลูกสตอเบอรี

           4) กลุ่มสตรีแม่บ้าน

 

กองทุนในหมู่บ้าน มีจำนวน 3 กองทุน ดังนี้

ลำดับ

ชื่อกองทุน

ยอดเงิน ณ ปัจจุบัน

1

กองทุนหมู่บ้าน (เงินล้าน)

1,000,000  บาท

2

กองทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน

280,000  บาท

3

กองทุนปุ๋ย อพป.

80,000  บาท

 

ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจของหมู่บ้าน

           1) ผ้าใยกัญชง

           2) ผ้าปักเย็บด้วยมือ

 

ศิลปวัฒนธรรม/ภูมิปัญญาของหมู่บ้าน

           1) การเป่าแคน

           2) การรำดาบ

           3) การละเล่นต่างในช่วงเทศกาล เช่น เทศกาลปีใหม่ม้ง เป็นต้น

สภาพทางสังคม

           สภาพครัวเรือนชาวบ้านม่อนยะ อยู่กันแบบครอบครัวขยายหรือครอบครัวขนาดใหญ่เป็นส่วนมากครอบครัวมีความอบอุ่น

           -   ประชาชนส่วนใหญ่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง

           -   เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาภาคบังคับทุกคน ประชาชนที่มีอายุ 15-60 ปี อ่านและเขียนได้เป็นส่วนใหญ่(ประมาณ 60 % เขียนและอ่านภาษไทยไม่ได้)

 

การคมนาคม และสาธารณูปโภค

           -   การคมนาคมยากลำบากเป็นช่วงๆ จากอำเภอแม่วาง ผ่านบ้านสบวิน และอีกหลายหมู่บ้าน ประมาณ 70 กว่ากิโลเมตร

           -   โทรศัพท์ มีตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 1 เครื่อง

           -   มีหอกระจายข่าวจำนวน 1 แห่ง

           -   มีประปาหมู่บ้านจำนวน 1 แห่ง

           -   ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านม่อนยะ

 

ขนบธรรมเนียมประเพณี

           1) ประเพณีพิธีกรรมที่เป็นระดับครอบครัว ซึ่งหมายถึง พิธีกรรมที่ทุกครอบครัวต้องทำกัน แต่ไม่ได้ทำกันทั้งชุมชนในคราวเดียวกัน ครอบครัวไหนจะทำกันเมื่อไหร่ก็แล้วแต่ความพร้อมหรือความจำเป็น เช่น การเรียกขวัญตั้งชื่อเด็ก การเรียกขวัญทั่วไป การผูกข้อมือ การอัวเน้ง การขึ้นบ้านใหม่ การแต่งงาน งานศพ และการเลี้ยงฉลองต่าง

           2) ประเพณีพิธีกรรมที่เป็นระดับชุมชน ซึ่งหมายถึง พิธีกรรมที่ทำกันทั้งชุมชน ทุกคนในชุมชนได้รับผลประโยชน์เหมือนกัน เช่น การเลี้ยงผีดงเซ้ง การเลี้ยงผีลม

           3) ประเพณีพิธีกรรมที่เป็นระดับชนเผ่า หมายถึงประเพณีพิธีกรรมที่ต้องทำกันทั้งชนเผ่า คนในชนเผ่าได้มีส่วนเสียเหมือนกัน เช่น งานปีใหม่ม้ง ซึ่งจะตรงกับเดือนธันวาคม หรือ เดือนมกราคม ของทุกปี โดยนับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 เป็นวันขึ้นปีใหม่ กิจกรรมที่ทำกันในช่วงเทศกาลปีใหม่ มีหลายอย่าง เช่น สะเดาะเคราะห์ส่งท้ายปีเก่า การเรียกขวัญ การเซ่นไหว้บรรพบุรุษ การอวยพรคนเฒ่าคนแก่ การเล่นลูกช่วง การเล่นลูกข่าง การ้องรำทำเพลง และอื่นๆ อีกมากมาย

 

ทักษะฝีมือแรงงานของหมู่บ้าน

           1) การทำแคน (เป็นเครื่องดนตรีเผ่าม้ง)

           2) การปักเย็บผ้า

           3) การทอผ้าใยกัญชง

          4)       การสานก๋วย