หมู่ที่ 1 บ้านห้วยอีค่าง


จำนวนผู้อ่านบทความ : 267

บ้านห้วยอีค่าง

หมู่ที่ 1 ตำบลแม่วิน  อำเภอแม่วาง  จังหวัดเชียงใหม่

***************

ประวัติความเป็นมา

           บ้านห้วยอีค่าง หมู่ที่ 1 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2100 อายุได้ประมาณ 448 ปี มีพื้นที่ทั้งหมด 9,725 ไร่  ในอดีตเป็นหมู่บ้านใหญ่ และเป็นหมู่บ้านแรก ต่อมาได้เกิดโรคระบาดในหมู่บ้าน คือ อหิวาตกโรค เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวบ้านจึงแยกย้ายไปตั้งหมู่บ้านใหม่ เช่น บ้านทุ่งหลวง บ้านห้วยทราย บ้านห้วยข้าวลีบ บ้านห้วยตอง บ้านโป่งสมิตร ในหมู่บ้านนับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ ในอดีตชาวบ้านประกอบอาชีพการเกษตรแบบพอเพียง คือ ทำไร่ ทำนา เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชผักสวนครัว ซึ่งสามารถเก็บไว้ได้ตลอดปี และปลอดสารพิษ  

 

รายชื่อผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ดังนี้

1)  นายแก๊ะโพ

2)  นายกิ๊นะ

3)  นายปอเล็ก

4)  นายกีวี

5)  นายหม่อลา

6)  นายนุ            จอเก                 ปี พ.ศ. 2500 - 2519

7)  นายดวงจันทร์   นุเกง                 ปี พ.ศ. 2520 - 2528

8)  นายพะโยแฮ     สุวิริยภาพ            ปี พ.ศ. 2529 - 2542

9)  นายไตรภพ      มั่นสุขเจริญวงค์      ปี พ.ศ. 2543 - 2547

10)  นายจีละ       วสันต์สุขใจ           ปี พ.ศ. 2548 – 2552

11) นายศรีมา       ทุ่งเมืองทอง          ปี พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน

 

อาณาเขต

           ทิศเหนือ        ติดต่อกับ     อำเภอสะเมิง       จังหวัดเชียงใหม่

           ทิศใต้           ติดต่อกับ     บ้านห้วยตอง       หมู่ที่ 10  ต.แม่วิน  อ.แม่วาง

           ทิศตะวันออก   ติดต่อกับ     บ้านทุ่งหลวง       หมู่ที่  2   ต.แม่วิน  อ.แม่วาง

           ทิศตะวันตก    ติดต่อกับ     บ้านห้วยข้าวลีบ   หมู่ที่  8   ต.แม่วิน  อ.แม่วาง

 

พื้นที่ทั้งหมดของหมู่บ้านห้วยอีค่าง

           15.07 ตารางกิโลเมตร

 

ลักษณะภูมิอากาศ

           แบ่งออกเป็น 3 ฤดูดังนี้

                   ฤดูหนาว     ช่วงเดือน     พฤศจิกายน    ถึง   เดือนกุมภาพันธ์

                   ฤดูร้อน       ช่วงเดือน     มีนาคม         ถึง   เดือนพฤษภาคม

                   ฤดูฝน        ช่วงเดือน     มิถุนายน       ถึง   เดือนตุลาคม

 

ลักษณะภูมิประเทศ

           การตั้งบ้านเรือนของประชาชน ตั้งอยู่ตามที่ราบเชิงเขา มีถนนเส้นทางหลักของตำบลตัดผ่าน ที่ดินทำกินไม่มีเอกสารสิทธ์ ประชาชนพึ่งพิงอยู่กับทรัพยากรป่าไม้

 

ศาสนา

           ชาวบ้านส่วนใหญ่ของบ้านห้วยอีค่าง นับถือศาสนาพุทธ และคริสต์ มากที่สุด มีบางส่วนที่นับถือผี ประชากรเป็นชาวเผ่ากระเหรี่ยง

 

จำนวนครัวเรือน/ประชากร  (ข้อมูลเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2556)

- จำนวนครัวเรือน

111

ครัวเรือน

- จำนวนประชากรทั้งหมด

525

คน

แบ่งเป็น ชาย

253

คน

แบ่งเป็น หญิง

272

คน

 

จำนวนผู้สูงอายุ/ผู้พิการ  (ข้อมูลเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2556)

- จำนวนผู้สูงอายุ

35

 คน

แบ่งเป็น ชาย

17

 คน

แบ่งเป็น หญิง

18

 คน

- จำนวนผู้พิการ

2

 คน

แบ่งเป็น ชาย

1

 คน

แบ่งเป็น หญิง

1

 คน

 

ทุนทางสังคม

           1)  มีดอยพระธาตุ แหล่งท่องเที่ยว น้ำตก ป่าไม้อุดมสมบูรณ์มีสัตว์ป่ามากมาย

           2)  มีประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม

           3)  การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

 

การประกอบอาชีพ

           1)  เกษตรกรรม (ทำไร่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์)    จำนวน 106  ครัวเรือน

           2)  ค้าขาย                                             จำนวน    3  ครัวเรือน

           3)  ทำงานประจำ/รับราชการ                    จำนวน    2  ครัวเรือน

 

หมู่บ้านมี รายได้    3,390,000  บาท/ปี

หมู่บ้านมี รายจ่าย  2,825,000  บาท/ปี

 

กลุ่มกิจกรรม/อาชีพ มีจำนวน 5 กลุ่ม

           1)  กลุ่มเลี้ยงโค

           2)  กลุ่มปลูกกาแฟ

           3)  กลุ่มเลี้ยงหมู

           4)  กลุ่มสมาชิกโครงการหลวง

           5)  กลุ่มทอผ้า

 

กองทุนในหมู่บ้าน

ลำดับ

ชื่อกองทุน

ยอดเงิน ณ ปัจจุบัน

1

กองทุน หมู่บ้าน (เงินล้าน)

1,167,900 บาท

2

กองทุน โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน

438,940 บาท

3

กองทุน กองทุนหมู่บ้านอาสาพัฒนา และป้องกันตนเอง (อพป.)

243,640 บาท

4

กองทุน พระธรรมจาริก

70,300 บาท

5

กองทุน ประชาสงเคราะห์

10,000 บาท

6

กองทุน เศรษฐกิจ

120,000 บาท

7

กองทุน ยูนิเซฟ

24,000 บาท

8

กองทุน สตรีหมู่บ้าน

24,000 บาท

 

ขนบธรรมเนียมประเพณี

           ลักษณะการตั้งถิ่นฐานชาวกะเหรี่ยงตั้งหมู่บ้านตามไหล่เขาในระดับต่ำ และค่อนข้างจะอยู่ใกล้คนพื้นราบกว่าชาวเขาเผ่าอื่นๆ มักตั้งหมู่บ้านอยู่เป็นเอกเทศ มีบ้างที่ตั้งบ้านเรือนปะปนกับชาวไทยพื้นราบ หมู่บ้านกะเหรี่ยงตั้งหลักฐานมั่นคง การโยกย้ายหมู่บ้านมีน้อยเนื่องจากมีความผูกพันความเป็นเจ้าของในที่อยู่ที่ทำการ

           บ้านของกะเหรี่ยงเป็นบ้านยกพื้นใต้ถุนสูงเกือบสองเมตรโดยประมาณ ซึ่งใช้เป็นที่อยู่ของสัตว์เลี้ยง ผนังและพื้นบ้านเป็นไม้ไผ่สับฟาก มุงหญ้าคาหรือตองตึง มีเพียงห้องเดียวใช้เป็นทั้งที่นอนและทำกิจวัตรอื่นๆ มีเตาไฟบนกระบะดินตั้งอยู่เกือบกลางห้องทางซีกด้านใดด้านหนึ่งของห้อง เหนือเตาไฟมีชั้นไม้ไผ่แขวนไว้เพื่อตากอาหารแห้ง ในบ้านของกะเหรี่ยงจะไม่มีหิ้งบูชา

           ตามความเชื่อดั้งเดิมแล้ว ชาวกะเหรี่ยงมีความเชื่อในเรื่องการถือผี ผีมีอยู่ทุกหนทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นผีเจ้าที่ ผีป่า ผีไร่ ผีนา และอีกสารพัดผี ผีที่ชาวกะเหรี่ยงให้ความสำคัญมากก็คือผีเจ้าที่เจ้าทาง และผีบรรพบุรุษ เรื่องขวัญ และพฤติกรรมที่ผิดธรรมชาติซึ่งเกี่ยวข้องกันดังนี้

  1. ผีเจ้าที่เจ้าทาง ชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่ามีอำนาจสูงสุดในการคุ้มครองแผ่นดิน แม่น้ำ ลำธาร โขดหิน ต้นไม้ ไร่นา ทุกพื้นที่ที่ตั้งหมู่บ้านอยู่ ต้องจัดให้มีศาล และจัดพิธีบูชาปีละ 2 ครั้ง ซึ่งคนทั้งหมู่บ้านจะต้องเข้าร่วม
  2. ผีบ้านผีเรือน ซึ่งก็คือวิญญาณของบรรพบุรุษนั่นเองที่จะคอยคุ้มครองดูแลสมาชิกในครอบครัวให้อยู่อย่างเป็นสุข
  3. ขวัญ ตามความเชื่อของกะเหรี่ยง ขวัญ คือ วิญญาณที่อยู่ประจำตามอวัยวะส่วนต่างๆ ของคนมีประมาณ 3 ขวัญ ที่สำคัญก็คือขวัญศีรษะ หู ตา คอ และข้อมือ หากขวัญออกจากร่างอาจจะจากการกระทำของผีหรือขวัญหนีไปแล้วหลงทางจะทำให้เจ้าของร่างกายเจ็บป่วยต้องแก้ด้วยการทำพิธีเรียกขวัญให้กลับสู่ร่าง
  4. พฤติกรรมที่ผิดธรรมชาติของสัตว์ เช่น ไก่สีดำมีลูกเป็นสีขาว หมูตกลูกเป็นเพศเดียวกันหมดทั้งครอก เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ชาวกะเหรี่ยงถือเป็นเหตุอุบาทว์อย่างร้ายแรงที่จะนำเภทภัยมาสู่ชุมชนจะต้องนำสัตว์เหล่านี้ไปฆ่าทิ้งให้หมด

           ชั่วชีวิตของชาวกะเหรี่ยงจะผูกพันอยู่กับความเชื่อดังที่กล่าวมานี้ หากใครประพฤติผิดทำนองคลองธรรมของชุมชนหรือล่วงเกินต่อผีจะทำให้ผีโกรธและลงโทษ โรคภัยเจ็บป่วยเกิดจากผี ต้องแก้ด้วยการทำพิธีเลี้ยงผีด้วยไก่ และเหล้าเพื่อขอขมาทุกๆ ผีที่เกี่ยวข้อง ความเชื่อในเรื่องผีของชาวกะเหรี่ยงนี้นับเป็นการสนับสนุนการอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมไปในตัวชาวกระเหรี่ยงจึงได้ชื่อว่าเป็นชาวเขาที่เป็นนักอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้ชาวกะเหรี่ยงได้หันมานับถือศาสนาคริสต์และพุทธเพิ่มมากขึ้นจึงพบว่าบางหมู่บ้านมีทั้งถือผี ศาสนาคริสต์ ศาสนาพุทธอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ตามครรลองของชนเผ่า

 

 

ครอบครัว

           ครอบครัวกะเหรี่ยงเป็นลักษณะครอบครัวเดี่ยว เมื่อแต่งงานฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายสู่ขอฝ่ายชายและฝ่ายชายจะไปอยู่กับครอบครัวฝ่ายหญิงระยะหนึ่งแล้วค่อยแยกออกไปสร้างบ้านบริเวณใกล้เคียงกับครอบครัวฝ่ายหญิง ยึดมั่นการอยู่อย่างผัวเดียวเมียเดียว ชายเป็นใหญ่ในเรื่องกิจการชุมชนนอกบ้านส่วนหญิงเป็นใหญ่ภายในบ้าน นับถือผีบรรพบุรุษฝ่ายมารดา ทุกคนในครอบครัวช่วยกันทำงานแต่งานส่วนใหญ่จะตกหนักที่ฝ่ายหญิง ให้ความสำคัญกับบุพการีที่ต้องให้การดูแลเมื่อแก่ชรา โดยเฉพาะลูกสาวคนสุดท้องถึงแม้จะแต่งงานแล้วก็จะต้องอยู่กับพ่อแม่ไปตลอด

           ผู้นำในชุมชน ด้วยสถานภาพของหมู่บ้านเป็นเพียงหย่อมบ้านของหมู่บ้านทางการและส่วนใหญ่นับถือผี ดังนั้น หมอผีหรือ “ฮีโข่” (ภาษาสะกอ) ซึ่งเป็นตำแหน่งสืบทอดจากบรรพบุรุษทางบิดา จึงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดต่อการตัดสิน และกำหนดทิศทางพฤติกรรมของชุมชน หมอผีจะต้องเป็นเพศชายและมีเพียงคนเดียวในหมู่บ้านเป็นผู้นำโดยประเพณีหรือธรรมชาติของชุมชน เรื่องที่สำคัญหมอผีจะเป็นผู้ตัดสินใจโดยมีกลุ่มผู้อาวุโสในชุมชนเป็นที่ปรึกษา

 

ประเพณีสำคัญของชุมชน

           ประเพณีปีใหม่ หมายถึง การเริ่มต้นของฤดูการเกษตร จะอยู่ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ แต่ละปีไม่ตรงกันโดยคนกำหนดวัน คือ หมอผี (ฮีโข่) และเป็นผู้ที่ต้องทำพิธีให้กับบ้านทุกหลัง

           พิธีทำขวัญพืชไร่ (เปี้ยงเค่อ) เป็นการเลี้ยงผี เพื่อให้ผีช่วยเหลือพืชไร่ที่ปลูกใหม่ให้เจริญเติบโต พิธีเรียกขวัญข้าว (โก๊ะบือเร่)

           พิธีกรรมเลี้ยงผี ด้วยความเชื่อที่ผูกพันอยู่กับผี การเลี้ยงผีจึงมีอยู่เป็นระยะตลอดปี เมื่อมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น โดยมีเหล้าและไก่เป็นสิ่งที่ต้องใช้ในการทำพิธี

 

การคมนาคม  และสาธารณูปโภค

           -  การคมนาคมมีความสะดวกสบาย  ในการเดินทางไปอำเภอแม่วาง และตามซอยได้รับการพัฒนาเป็นถนนคอนกรีต หรือ ลงหินคลุกทุกซอย

 

รายชื่อผู้นำในหมู่บ้าน ณ ปัจจุบัน

           1)   นายศรีมา      ทุ่งเมืองทอง      ตำแหน่ง  ผู้ใหญ่บ้าน

           2)   นายวุฒิไกร     พุทธรักสกุล      ตำแหน่ง  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

           3)   นางเจ๊ะแฮ      ธัญธารสาร       ตำแหน่ง  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

           4)   นายอาทิตย์    พุทธรักสกุล      ตำแหน่ง  สมาชิก อบต.

           5)   นายเสาร์ชาย  จันทร์พอดู       ตำแหน่ง  สมาชิก อบต.

           6)   นายนุเอ        กานนภูม         ตำแหน่ง  ประธานกองทุนหมู่บ้าน (เงินล้าน)

           7)   นางจันทร์ฉาย โนลอย           ตำแหน่ง  ประธานแม่บ้าน

           8)   นางจันทร์ฉาย โนลอย           ตำแหน่ง  ประธานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

           9)   นายศรีมา      ทุ่งเมืองทอง      ตำแหน่ง  ประธานกองทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กขคจ.)