หมูที่ 4 บ้านหนองเต่า


จำนวนผู้อ่านบทความ : 2

บ้านหนองเต่า

หมู่ที่ 4  ตำบลแม่วิน  อำเภอแม่วาง  จังหวัดเชียงใหม่

***************

ประวัติความเป็นมา

จากคำบอกเล่าของผู้อาวุโสหลายคนในชุมชน ในเรื่องชื่อของหมู่บ้าน มีความคิดเห็นแยกออกไปเป็น 3 ประการ ประการแรก เรียกชื่อตามหนองน้ำที่มีรูปร่างคล้ายเต่า (หนองน้ำ อยู่ห่างจากหมู่บ้านไปทางทิศใต้ ประมาณ 800-900 เมตร) ประการที่สอง บริเวณหนองน้ำที่อยู่ใต้หมู่บ้าน สมัยก่อนในอดีตมีเต่าเป็นจำนวนมากอาศัยอยู่จึงเรียกบริเวณนี้ และหมูบ้านนี้ (ซึ่งเกิดขึ้นทีหลัง) ว่า “หนองเต่า” ประการที่สาม ผู้อาวุโสเล่าว่า พระเจ้าของชาวกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นศัตรู มักมีการสู้กันตลอด เมื่อเจอกัน วันหนึ่งพระเจ้าของชาวกะเหรี่ยงไล่ “ชิกือ” มาถือดอยผาแง่ม (ติดดอยอินทนนท์) ด้วยความรีบร้อนของพระเจ้าที่จะทำร้าย “ชิกือ” ทำให้พระเจ้าไม่ทันระวังมาสะดุดดอยผาแง่ม แล้วหัวคะมำลงพื้นดิน จึงทำให้ดินตรงนั้นยุบตัวเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ชาวบ้านจึงเรียกหนองน้ำว่า “หนองเต่า” (ต้าว ภาษาคำเมืองว่า หกล้ม ) ต่อมาจึงเรียกชื่อเพี้ยนไปเป็นหนองเต่า ของพาตี่จอนี โอ่โดเชา ผู้รอบรู้แห่งบ้านหนองเต่า อดีตผู้ใหญ่บ้านหนองเต่า และผู้อาวุโสที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไปจนถึง 90 ปี ได้เล่าว่าบ้านหนองเต่า นั้น ตั้งมาได้ประมาณเกือบ 264 ปี แต่ไม่ตั้งอยู่ในบริเวณปัจจุบัน มีการโยกย้ายมาแล้ว สามครั้ง ด้วยสาเหตุการเกิดโรคระบาดอย่างหนักในหมู่บ้าน เกิดการกระทำผิดจารีตอย่างร้ายแรงของคนในชุมชน ประมาณ 50 ปี โดยการรวมหย่อมบ้านที่อยู่ใกล้ๆ กัน และส่วนใหญ่จะเป็นเครือญาติใกล้ชิดกัน ในที่ปัจจุบันมี พาตี่จอนิ โอ่โดเช่า ได้ย้ายเป็นครอบครัวแรก ด้วยเห็นว่าสถานที่ตั้งในปัจจุบัน มีพื้นที่ราบมากใกล้แหล่งน้ำ เหมาะสมที่จะตั้งหมู่บ้าน

 

รายชื่อผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีจำนวน 9 คน ดังนี้

           1) นายปูจ่อ

           2) นายบุเง           จ่อวาลู          

           3) นายจอนิ          โอ่โดเชา         

           4) นายณรงค์ศักดิ์   จ่อวาลู          

           5) นายชาติชาย     อุโปโม           

           6) นายหม่อเจ๊ะดี    จ่อวาลู          

           7) นายพ่าดี          จ่อมแฮเคว      

 

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน

           เป็นพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 6,300-800 เมตร สภาพพื้นที่มีภูเขาล้อมรอบ และภูเขาที่มีความสัมพันธ์ทางด้านความเชื่อมี 4 ลูก  คือ ดอยโตน ดอยกิ่วแก้ว ดอยผาหม่น และดอยแม่วางหลับกลาง

 

อาณาเขต

           ทิศเหนือ        ติดต่อกับ         บ้านห้วยตอง  หมู่ที่ 10  ต.แม่วิน  อ.แม่วาง

           ทิศใต้           ติดต่อกับ         บ้านป่ากล้วย  หมู่ที่ 17  ต.แม่วิน  อ.แม่วาง

           ทิศตะวันออก   ติดต่อกับ         บ้านห้วยเกี่ยง หมู่ที่   4  ต.แม่วิน  อ.แม่วาง

           ทิศตะวันตก    ติดต่อกับ         ป่าไม้ เทือกเขาดอยอินทนนท์

 

พื้นที่ทั้งหมดของหมู่บ้านหนองเต่า

           22.86 ตารางกิโลเมตร

 

ลักษณะภูมิอากาศ

           แบ่งออกเป็น 3 ฤดูดังนี้

           ฤดูหนาว    ช่วงเดือนพฤศจิกายน   ถึง    เดือนกุมภาพันธ์

           ฤดูร้อน     ช่วงเดือนมีนาคม        ถึง    เดือนพฤษภาคม

           ฤดูฝน       ช่วงเดือนมิถุนายน       ถึง    เดือนตุลาคม

 

ศาสนา

           ชาวบ้านส่วนใหญ่ของบ้าน  นับถือศาสนาพุทธคริสต์มากที่สุดและมีบางส่วนนับถือผีประชากรเป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง

 

อาชีพของคนในหมู่บ้าน

           1. เกษตร

           2. รับจ้าง

 

จำนวนครัวเรือน/ประชากร  (ข้อมูลเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2556)

- จำนวนครัวเรือน

197

 ครัวเรือน

- จำนวนประชากรทั้งหมด

838

 คน

แบ่งเป็น ชาย

433

 คน

แบ่งเป็น หญิง

405

 คน

 

จำนวนผู้สูงอายุ/ผู้พิการ  (ข้อมูลเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2556)

- จำนวนผู้สูงอายุ

65

 คน

แบ่งเป็น ชาย

36

 คน

แบ่งเป็น หญิง

29

 คน

- จำนวนผู้พิการ

7

 คน

แบ่งเป็น ชาย

6

 คน

แบ่งเป็น หญิง

1

 คน

 

การประกอบอาชีพ

           1)  เกษตรกรรม (ทำไร่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์)    จำนวน 176  ครัวเรือน

           2)  ค้าขาย                                             จำนวน    6  ครัวเรือน

           3)  ทำงานประจำ/รับราชการ                        จำนวน    8  ครัวเรือน

 

หมู่บ้านมี รายได้      9,550,000 บาท/ปี

หมู่บ้านมี รายจ่าย  10,430,000 บาท/ปี

           หนี้สิน        880,000 บาท/คน/ปี

กลุ่มกิจกรรม/อาชีพ มีจำนวน 4 กลุ่ม

           1)  กลุ่มรับจ้าง

           2)  กลุ่มรับราชการ

           3)  กลุ่มเกษตรกรรม

           4)  กลุ่มค้าขายทั่วไป

กองทุนในหมู่บ้าน

ลำดับ

ชื่อกองทุน

ยอดเงิน ณ ปัจจุบัน

1

กองทุน หมู่บ้าน (เงินล้าน)

1,386,710  บาท

2

กองทุน โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน

280,000  บาท

3

กองทุน ศพช.

2,802,234  บาท

4

กองทุน อพป.

80,000  บาท

5

กองทุน กลุ่มสตรี

180,000  บาท

 

สภาพทางสังคม

           สภาพครัวเรือนชาวบ้านหนองเต่า อยู่กันแบบครอบครัวขยายหรือครอบครัวขนาดใหญ่เป็นส่วนมากครอบครัวมีความอบอุ่น

           - ประชาชนส่วนใหญ่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีการตรวจสุขภาพอนามัยตลอดเพราะมีสถานีอนามัยอยู่ในหมู่บ้าน

           - เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาภาคบังคับทุกคน ประชาชนที่มีอายุ 15-60 ปี อ่านและเขียนได้เป็นส่วนใหญ่ (ประมาณ 32 % เขียนและอ่านภาษไทยไม่ได้)

           - ชาวบ้านหนองเต่าส่วนใหญ่ไม่ติดสุรา ไม่ติดบุหรี่ มีการปฏิบัติกิจทางศาสนาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

 

ศิลปวัฒนธรรม/ภูมิปัญญาของหมู่บ้าน

           รำดาบของกลุ่มเยาวชน ทอผ้าของกลุ่มแม่บ้าน พิธีกรรมต่างๆ เช่นพิธีมัดมือ พิธีบวชป่าต้นน้ำ เป็นต้น

 

สถานที่ท่องเที่ยว/สถานที่บริการ

           น้ำตกก๋อแก้ว และท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในป่าชุมชน เป็นต้น

 

ขนบธรรมเนียมประเพณี

  1. ประเพณีมัดมือ หรือประเพณีปีใหม่ของชาวกะเหรี่ยง มักจะจัดในช่วงเดือน  มกราคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี
  2. ประเพณีกินข้าวใหม่ (ข้าวเม่า) ของกระเหรียงจัดขึ้นภายหลังการเก็บเกี่ยวข้าว ในช่วงเดือนสิงหาคม
  3. ประเพณีแต่งงานของกะเหรี่ยง นิยมแต่งงานในเดือนพฤษภาคม มีพิธีกรรม  2  แบบ  คือ พิธีกรรมผู้ที่นับถือผี  และผู้นับถือศาสนาคริสต์

 

การคมนาคม (เดินทางไปหมู่บ้านหนองเต่า)

           การเดินทางเข้าหมู่บ้านหนองเต่าสามารถเดินทางได้ 3 เส้นทาง โดยเริ่มต้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ คือ

           -   เส้นทางจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ตามเส้นทางเชียงใหม่ฮอด ผ่านทางอำเภอหางดง - อำเภอสันป่าตอง เลี้ยวขวาผ่านตำบลบ้านกาด ผ่านที่ว่าการอำเภอแม่วาง ผ่านตำบลแม่วิน ตามเส้นทางแม่แฮเหนือ เลี้ยวซ้ายตามถนนตาม รพช. ประมาณ 3 กิโลเมตร ผ่านบ้านห้วยเกี่ยงเลี้ยวขวาเข้าหมู่บ้านหนองเต่า โดยใช้เวลาการเดินทางรถยนต์ประมาณ 2 ชั่วโมง

           -   เส้นทางอำเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ตามเส้นทางเชียงใหม่ฮอด ผ่านอำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง อำเภอดอยหล่อ ก่อนถึงอำเภอจอมทอง 1 กิโลเมตร เลี้ยวขวาตามเส้นทาง อำเภอจอมทอง - ดอยอินทนนท์ผ่านน้ำตกแม่กลาง ถึงหลักกิโลเมตรที่ 31 ก่อนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เลี้ยวขวาผ่านบ้านขุนกลาง ผ่านบ้านขุนวาง ผ่านบ้านกะเหรี่ยงโป่งลมแรง เลี้ยวขวาเข้าหมู่บ้านหนองเต่า ระยะทางจากอำเภอจอมทอง ประมาณ 56 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางโดยรถยนต์ ประมาณ 4 ชั่วโมง

           -   เส้นทางจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ตามเส้นทางเชียงใหม่ฝาง ผ่านที่ว่าการอำเภอแม่รินเลี้ยวขวาตามเส้นทางอำเภอแม่ริม-สะเมิง ผ่านอำเภอสะเมิงตามเส้นทางสะเมิง- บ้านวัดจันทร์ ผ่าสนบ้านสะเมิงใต้ บ้านขุนสาบ ถึงตำบลบ่อแก้ว เลี้ยวซ้ายตามเส้นทาง บ่อแก้ว - แม่แฮเหนือ ผ่านบ้านห้วยน้ำจาง บ้านม่อนยะ บ้านมาแฮเหนือ ตามเส้นทาง รพช. แม่แฮเหนือ - สบวิน ผ่านบ้านแม่เตียง บ้านห้วยข้าวลีบ บ้านห้วยอีค่าง บ้านห้วยตอง เลี้ยวขวาผ่านโครงการหลวงบ้านทุ่งหลวง 2 กิโลเมตร ถึงหมู่บ้านหนองเต่า ระยะทางจากอำเภอสะเมิง ประมาณ 55 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางโดยรถยนต์ 4 ชั่วโมง เส้นทางสู่บ้านหนองเต่า ที่สะดวกที่สุด คือเส้นทางที่ผ่านอำเภอสันป่าตอง - แม่วาง ค่ารถจากเชียงใหม่ประมาณ 40 บาท

 

รายชื่อผู้นำในหมู่บ้าน ณ ปัจจุบัน

           1) นายพ่าดี       จ่อมแฮเดว         ตำแหน่ง  ผู้ใหญ่บ้าน

           2)                                       ตำแหน่ง  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

           3)                                       ตำแหน่ง  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

           4) นายจำเริญ     จิรธารเจิรญ        ตำแหน่ง  สมาชิก อบต.

           5) นายศรานนท์  โชติเสริมทรัพย์     ตำแหน่ง  สมาชิก อบต.

           6)                                       ตำแหน่ง  ประธานกองทุนหมู่บ้าน

           7)                                       ตำแหน่ง  ประธานแม่บ้าน

           8)                                       ตำแหน่ง  ประธานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

           9)                                       ตำแหน่ง  ประธานกองทุน โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน

           10)                                      ตำแหน่ง  ประธานกองทุน ศพช.

           11)                                      ตำแหน่ง  ประธานกองทุนหมู่บ้านอาสาพัฒนา และป้องกันตนเอง (อพป.)