หมู่ที่ 14 บ้านห้วยยาว


จำนวนผู้อ่านบทความ : 298

บ้านห้วยยาว

หมู่ที่ 14  ตำบลแม่วิน  อำเภอแม่วาง  จังหวัดเชียงใหม่

***************

ประวัติความเป็นมา

           บ้านห้วยยาว หมู่ที่ 14 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งขึ้นเมื่อประมาณสงครามโลกครั้งที่ 2 มีสภาพทั่วไปเป็นภูเขาสลับซับซ้อนล้อมรอบ มีพื้นที่ราบอยู่เล็กน้อย ลักษณะการตั้งหมู่บ้านจะตั้งอยู่บนสันเขาและเชิงเขา มีผู้นำคนแรกชื่อ ปู่นิ นำคอบครัวมาตั้งรกรากและมีลูกหลาน โดยประกอบอาชีพทำไร่ และหาสัตว์ป่ากินสืบมา และผู้นำคนต่อมาคือ พ่อชิทู ซึ่งเป็นลูกของปู่นิ แบ่งการปกครองออกเป็น 3 หย่อมบ้าน คือ

           1) บ้านห้วยยาว

           2) บ้านโป่งน้อยเก่า

           3) บ้านโป่งน้อยใหม่

 

รายชื่อผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีจำนวน 2 คน

           1) นายพลาดู      อักษรเจริญกุล     ปี พ.ศ. 2528 - 2533

           2) นายธนากรณ์  นิเปยนิ             ปี พ.ศ. 2534 - ปัจจุบัน

 

รายชื่อผู้นำในหมู่บ้าน ณ ปัจจุบัน

           1) นายธนากรณ์    นิเปยนิ                   ตำแหน่ง  ผู้ใหญ่บ้าน

           2) นายปุ๊ด           นภาคีรีรมย์              ตำแหน่ง  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

           3) นายเปิดเง        เสมือแม่                  ตำแหน่ง  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

           4) นายพันศักดิ์      ไพสนท์หรรษา           ตำแหน่ง  สมาชิก อบต.

           5) นายนพรัตน์      พิทักษ์กิจพนา           ตำแหน่ง  สมาชิก อบต.

           6) นายพันศักดิ์      ไพสนท์หรรษา           ตำแหน่ง  ประธาน กทบ.

           7) นางวิลัยวรรณ์   อักษรเจริญกุล           ตำแหน่ง  ประธานแม่บ้าน

           8) บาทหลวงคาเซนและบาทหลวงโชคดี      เขตบ้านห้วยตอง

 

อาณาเขต

           ทิศเหนือ         ติดต่อกับ   บ้านทุ่งหลวง  หมู่ที่  2  ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง

           ทิศใต้             ติดต่อกับ   บ้านขุนวาง  หมู่ที่  12  ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง

           ทิศตะวันออก    ติดต่อกับ   บ้านแม่สะป๊อก   หมู่ที่  5  ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง

           ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ   บ้านหนองเต่า  หมู่ที่  4  ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง

 

ลักษณะภูมิอากาศ  แบ่งออกเป็น 3 ฤดูดังนี้

           ฤดูหนาว    ช่วงเดือน    พฤศจิกายน  ถึง  เดือนกุมภาพันธ์

           ฤดูร้อน     ช่วงเดือน    มีนาคม  ถึง  เดือนพฤษภาคม

           ฤดูฝน       ช่วงเดือน    มิถุนายน  ถึง  เดือนตุลาคม

 

สภาพภูมิประเทศ         สภาพหมู่บ้านอาศัยอยู่ตามหุบเขา

ศาสนา

           ชาวบ้านส่วนใหญ่ของบ้านห้วยยาว นับถือศาสนาพุทธคริสต์มากที่สุดและมีบางส่วนนับถือผีประชากรเป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง

 

จำนวนครัวเรือน/ประชากร  (ข้อมูลเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2556)

- จำนวนครัวเรือน

125

 ครัวเรือน

- จำนวนประชากรทั้งหมด

470

 คน

        แบ่งเป็น ชาย

250

 คน

        แบ่งเป็น หญิง

220

 คน

 

จำนวนผู้สูงอายุ/ผู้พิการ  (ข้อมูลเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2556)

- จำนวนผู้สูงอายุ

33

 คน

        แบ่งเป็น ชาย

17

 คน

        แบ่งเป็น หญิง

16

 คน

- จำนวนผู้พิการ

8

 คน

        แบ่งเป็น ชาย

2

 คน

        แบ่งเป็น หญิง

6

 คน

 

สภาพทางเศรษฐกิจ

           1) เกษตรกรรม (ทำไร่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์)  จำนวน 109 ครัวเรือน

           2) ค้าขาย  จำนวน  7  ครัวเรือน

           3) อื่นๆ รับจ้างทั่วไป,ปลูกผักทั่วไปเพื่อส่งโครงการหลวง

 

การประกอบอาชีพ

           1) อาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก

           2) เลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพรอง

           3) รับจ้างทั่วไป

           4) ปลูกผักทั่วไปเพื่อส่งโครงการหลวง

 

กลุ่มสมาชิก/อาชีพ

           1) กลุ่มออมทรัพย์

           2) กลุ่มแม่บ้าน

 

กองทุนในหมู่บ้าน

ลำดับ

ชื่อกองทุน

ยอดเงิน ณ ปัจจุบัน

1

กองทุนหมู่บ้าน (เงินล้าน)

1,000,000  บาท

2

กองทุน กข.คจ.

280,000  บาท

3

กองทุน กระตุ้นเศรษฐกิจ

100,000  บาท

4

กองทุน ศชป

500,000  บาท

 

ครอบครัว

           ครอบครัวกะเหรี่ยงเป็นลักษณะครอบครัวเดี่ยว เมื่อแต่งงานฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายสู่ขอฝ่ายชายและฝ่ายชายจะไปอยู่กับครอบครัวฝ่ายหญิงระยะหนึ่งแล้วค่อยแยกออกไปสร้างบ้านบริเวณใกล้เคียงกับครอบครัวฝ่ายหญิง ยึดมั่นการอยู่อย่างผัวเดียวเมียเดียว ชายเป็นใหญ่ในเรื่องกิจการชุมชนนอกบ้านส่วนหญิงเป็นใหญ่ภายในบ้าน นับถือผีบรรพบุรุษฝ่ายมารดา ทุกคนในครอบครัวช่วยกันทำงานแต่งานส่วนใหญ่จะตกหนักที่ฝ่ายหญิง ให้ความสำคัญกับบุพการีที่ต้องให้การดูแลเมื่อแก่ชรา โดยเฉพาะลูกสาวคนสุดท้องถึงแม้จะแต่งงานแล้วก็จะต้องอยู่กับพ่อแม่ไปตลอดผู้นำในชุมชน ด้วยสถานภาพของหมู่บ้านเป็นเพียงหย่อมบ้านของหมู่บ้านทางการและส่วนใหญ่นับถือผี ดังนั้น หมอผีหรือ “ฮีโข่” (ภาษาสะกอ) ซึ่งเป็นตำแหน่งสืบทอดจากบรรพบุรุษทางบิดา จึงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดต่อการตัดสิน และกำหนดทิศทางพฤติกรรมของชุมชน หมอผีจะต้องเป็นเพศชายและมีเพียงคนเดียวในหมู่บ้านเป็นผู้นำโดยประเพณีหรือธรรมชาติของชุมชน เรื่องที่สำคัญหมอผีจะเป็นผู้ตัดสินใจโดยมีกลุ่มผู้อาวุโสในชุมชนเป็นที่ปรึกษา

           สภาพครัวเรือนชาวบ้าน อยู่กันแบบครอบครัวขยายหรือครอบครัวขนาดใหญ่เป็นส่วนมากครอบครัวมีความอบอุ่น ประชาชนส่วนใหญ่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีการตรวจสุขภาพอนามัย เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาภาคบังคับทุกคน ประชาชนที่มีอายุ 15-60 ปี อ่านและเขียนได้เป็นส่วนใหญ่(ประมาณ29% เขียนและอ่านภาษาไทยไม่ได้) ชาวบ้าน ส่วนใหญ่ไม่ติดสุรา ไม่ติดบุหรี่ มีการปฏิบัติกิจทางศาสนาอย่างน้อยสัปดาห์ละ  1  ครั้ง

 

ขนบธรรมเนียมประเพณี

           ลักษณะการตั้งถิ่นฐานชาวกะเหรี่ยงตั้งหมู่บ้านตามไหล่เขาในระดับต่ำ และค่อนข้างจะอยู่ใกล้คนพื้นราบกว่าชาวเขาเผ่าอื่นๆ มักตั้งหมู่บ้านอยู่เป็นเอกเทศ มีบ้างที่ตั้งบ้านเรือนปะปนกับชาวไทยพื้นราบ หมู่บ้านกะเหรี่ยงตั้งหลักฐานมั่นคง การโยกย้ายหมู่บ้านมีน้อยเนื่องจากมีความผูกพันความเป็นเจ้าของในที่อยู่ที่ทำการ บ้านของกะเหรี่ยงเป็นบ้านยกพื้นใต้ถุนสูงเกือบสองเมตรโดยประมาณ ซึ่งใช้เป็นที่อยู่ของสัตว์เลี้ยง ผนังและพื้นบ้านเป็นไม้ไผ่สับฟาก มุงหญ้าคาหรือตองตึง มีเพียงห้องเดียวใช้เป็นทั้งที่นอนและทำกิจวัตรอื่นๆ มีเตาไฟบนกระบะดินตั้งอยู่เกือบกลางห้องทางซีกด้านใดด้านหนึ่งของห้อง เหนือเตาไฟมีชั้นไม้ไผ่แขวนไว้เพื่อตากอาหารแห้ง ในบ้านของกะเหรี่ยงจะไม่มีหิ้งบูชา

           ตามความเชื่อดั้งเดิมแล้ว ชาวกะเหรี่ยงมีความเชื่อในเรื่องการถือผี ผีมีอยู่ทุกหนทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นผีเจ้าที่ ผีป่า ผีไร่ ผีนา และอีกสารพัดผี ผีที่ชาวกะเหรี่ยงให้ความสำคัญมากก็คือผีเจ้าที่เจ้าทาง และผีบรรพบุรุษ เรื่องขวัญ และพฤติกรรมที่ผิดธรรมชาติซึ่งเกี่ยวข้องกันดังนี้

           1) ผีเจ้าที่เจ้าทาง ชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่ามีอำนาจสูงสุดในการคุ้มครองแผ่นดิน แม่น้ำ ลำธาร โขดหิน ต้นไม้ ไร่นา ทุกพื้นที่ที่ตั้งหมู่บ้านอยู่ ต้องจัดให้มีศาล และจัดพิธีบูชาปีละ 2 ครั้ง ซึ่งคนทั้งหมู่บ้านจะต้องเข้าร่วม

           2) ผีบ้านผีเรือน ซึ่งก็คือวิญญาณของบรรพบุรุษนั่นเองที่จะคอยคุ้มครองดูแลสมาชิกในครอบครัวให้อยู่อย่างเป็นสุข

           3) ขวัญ ตามความเชื่อของกะเหรี่ยง ขวัญ คือ วิญญาณที่อยู่ประจำตามอวัยวะส่วนต่างๆ ของคนมีประมาณ 3 ขวัญ ที่สำคัญก็คือขวัญศีรษะ หู ตา คอ และข้อมือ หากขวัญออกจากร่างอาจจะจากการกระทำของผีหรือขวัญหนีไปแล้วหลงทางจะทำให้เจ้าของร่างกายเจ็บป่วยต้องแก้ด้วยการทำพิธีเรียกขวัญให้กลับสู่ร่าง

           4) พฤติกรรมที่ผิดธรรมชาติของสัตว์ เช่น ไก่สีดำมีลูกเป็นสีขาว หมูตกลูกเป็นเพศเดียวกันหมดทั้งครอก เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ชาวกะเหรี่ยงถือเป็นเหตุอุบาทว์อย่างร้ายแรงที่จะนำเภทภัยมาสู่ชุมชนจะต้องนำสัตว์เหล่านี้ไปฆ่าทิ้งให้หมด

           ชั่วชีวิตของชาวกะเหรี่ยงจะผูกพันอยู่กับความเชื่อดังที่กล่าวมานี้ หากใครประพฤติผิดทำนองคลองธรรมของชุมชนหรือล่วงเกินต่อผีจะทำให้ผีโกรธและลงโทษ โรคภัยเจ็บป่วยเกิดจากผี ต้องแก้ด้วยการทำพิธีเลี้ยงผีด้วยไก่ และเหล้าเพื่อขอขมาทุกๆ ผีที่เกี่ยวข้อง ความเชื่อในเรื่องผีของชาวกะเหรี่ยงนี้นับเป็นการสนับสนุนการอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมไปในตัวชาวกระเหรี่ยงจึงได้ชื่อว่าเป็นชาวเขาที่เป็นนักอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้ชาวกะเหรี่ยงได้หันมานับถือศาสนาคริสต์และพุทธเพิ่มมากขึ้นจึงพบว่าบางหมู่บ้านมีทั้งถือผี ศาสนาคริสต์ ศาสนาพุทธอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ตามครรลองของชนเผ่า

 

ประเพณีสำคัญฃองชุมชน

           -   ประเพณีมัดมือ หรือประเพณีปีใหม่ของชาวกะเหรี่ยง มักจะจัดในช่วงเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ของทุกปี

           -   ประเพณีกินข้าวใหม่ (ข้าวเม่า) ของกระเหรียงจัดขึ้นภายหลังการเก็บเกี่ยวข้าว ในช่วงเดือนสิงหาคม

           -   ประเพณีแต่งงานของกะเหรี่ยง นิยมแต่งงานในเดือนพฤษภาคม มีพิธีกรรม 2 แบบ คือ พิธีกรรมผู้ที่นับถือผี และผู้นับถือศาสนาคริสต์

 

การคมนาคม และสาธารณูปโภค

           -   การคมนาคมมีความสะดวกสบายและคล่องตัวในการเดินทาง

           -   ตู้โทรศัพท์สาธารณะ     จำนวน   2  เครื่อง

           -   มีหอกระจายข่าว        จำนวน   1  แห่ง

          -         มีประปาหมู่บ้าน จำนวน   1  แห่ง