หมู่ที่ 3 บ้านขุนป๋วย


จำนวนผู้อ่านบทความ : 651

บ้านขุนป๋วย

หมู่ที่ 3  ตำบลแม่วิน  อำเภอแม่วาง  จังหวัดเชียงใหม่

***************

ประวัติความเป็นมา

           บ้านขุนป๋วย หมู่ที่ 3 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2200 ที่ตั้งชื่อว่าขุนป๋วย เพราะสร้างหมู่บ้านอยู่ใกล้จุดกำเนิดของแม่น้ำป๋วย ปัจจุบันแบ่งการปกครองเป็น 2 ป๊อก (หย่อมบ้าน) คือ ป๊อกขุนป๋วยบน และป๊อกขุนป๋วยล่าง

 

ปัจจุบันอาชีพส่วนใหญ่ของคนในหมู่บ้านเรียงตามลำดับ ดังนี้

           1) ทำเกษตรกรรม

           2) รับจ้าง

           3) ค้าขาย

 

รายชื่อผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีจำนวน 9 คน ดังนี้

           1) นายดินะ

           2) นายปอแนะดู

           3) นายนายเขียว   พะฮือกูลู

           4) นายชิแหนะ     พะฮือกูลู

           5) นายอ้าย        ดอกจีมู

           6) นายทองสุข     ดอกจีมู

           7) นายดอก        พะแก่                ปี พ.ศ. 2540 - 2542

           8) นายศุภสิน      ปอแนะดู             ปี พ.ศ. 2542 - 2547

           9) นายหว่างดี     มะแหล่หน่อแฮะ     ปี พ.ศ. 2547 – 2552

           10) นายอภิรมย์   พะชิ                  ปี พ.ศ. 2552 – ปัจจุบัน

 

อาณาเขต

           ทิศเหนือ        ติดต่อกับ   บ้านโป่งน้อย หมู่ที่ 14 ตำบลแม่วิน

           ทิศใต้           ติดต่อกับ   อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

           ทิศตะวันออก   ติดต่อกับ   บ้านห้วยข้าวลีบ หมู่ที่ 8 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง 

                                          บ้านห้วยหอย หมู่ที่ 19 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง

           ทิศตะวันตก    ติดต่อกับ   บ้านขุนวาง หมู่ที่ 12 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง

 

พื้นที่ทั้งหมดของหมู่บ้านขุนป๋วย

           22.88 ตารางกิโลเมตร

 

ลักษณะภูมิอากาศ

           แบ่งออกเป็น 3 ฤดู ดังนี้

           ฤดูหนาว    ช่วงเดือน   พฤศจิกายน  ถึง  เดือนกุมภาพันธ์

           ฤดูร้อน     ช่วงเดือน   มีนาคม       ถึง  เดือนพฤษภาคม

           ฤดูฝน       ช่วงเดือน   มิถุนายน     ถึง  เดือนตุลาคม

ศาสนา

           ชาวบ้านส่วนใหญ่ของบ้านขุนป๋วย  นับถือศาสนาพุทธคริสต์มากที่สุด และมีบางส่วนนับถือผีประชากรเป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง

 

อาชีพของคนในหมู่บ้าน

           1. เกษตร

           2. รับจ้าง

 

ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน

           สภาพหมู่บ้านอาศัยอยู่ตามหุบเขา

 

จำนวนครัวเรือน/ประชากร  (ข้อมูลเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2556)

- จำนวนครัวเรือน

136

 ครัวเรือน

- จำนวนประชากรทั้งหมด

492

 คน

แบ่งเป็น ชาย

236

 คน

แบ่งเป็น หญิง

256

 คน

 

จำนวนผู้สูงอายุ/ผู้พิการ  (ข้อมูลเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2556)

- จำนวนผู้สูงอายุ

30

 คน

แบ่งเป็น ชาย

14

 คน

แบ่งเป็น หญิง

16

 คน

- จำนวนผู้พิการ

4

 คน

แบ่งเป็น ชาย

3

 คน

แบ่งเป็น หญิง

1

 คน

 

การประกอบอาชีพ

           1)  เกษตรกรรม (ทำไร่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์)    จำนวน 120  ครัวเรือน

           2)  ค้าขาย                                             จำนวน    5  ครัวเรือน

           3)  ทำงานประจำ/รับราชการ                        จำนวน    7  ครัวเรือน

 

หมู่บ้านมี รายได้    25,036   บาท/ปี

หมู่บ้านมี รายจ่าย  ...........     บาท/ปี

           หนี้สิน      5,000   บาท/คน/ปี

 

กลุ่มกิจกรรม/อาชีพ มีจำนวน 3 กลุ่ม

           1)  กลุ่มแม่บ้านขุนป๋วย

           2)  กลุ่มออมทรัพย์บ้านขุนป๋วย

           3)  กลุ่มเยาวชนบ้านขุนป๋วย

 

กองทุนในหมู่บ้าน

ลำดับ

ชื่อกองทุน

ยอดเงิน ณ ปัจจุบัน

1

กองทุนหมู่บ้าน (เงินล้าน)

1,200,000  บาท

2

กองทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน

280,000  บาท

3

กองทุนเศรษฐกิจชุมชน

100,000  บาท

4

กองทุนหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.)

80,000  บาท

 

ขนบธรรมเนียมประเพณี

           1) ประเพณีมัดมือ หรือประเพณีปีใหม่ของชาวกะเหรี่ยง มักจะจัดในช่วงเดือน มกราคม - กุมภาพันธ์ของทุกปี

           2) ประเพณีกินข้าวใหม่ (ข้าวเม่า) ของกระเหรียงจัดขึ้นภายหลังการเก็บเกี่ยวข้าว ในช่วงเดือนสิงหาคม

           3) ประเพณีแต่งงานของกะเหรี่ยง นิยมแต่งงานในเดือนพฤษภาคม มีพิธีกรรม 2 แบบ คือ พิธีกรรมผู้ที่นับถือผี และผู้นับถือศาสนาคริสต์

 

การคมนาคม และสาธารณูปโภค

           -   การคมนาคมลำบากมาในช่างน่าฝน  ในการเดินทางไปอำเภอแม่วางระยะห่าง 50 กิโลเมตร

           -   โทรศัพท์มือถือประมาณ 16  เครื่อง

           -   มีหอกระจายข่าวจำนวน 1 แห่ง (ไฟที่ใช้ทั้งหมู่บ้านเป็นแบบโซล่าเซลล์)

           -   มีประปาหมู่บ้านจำนวน 1 แห่ง

 

สภาพทางสังคม

           -   สภาพครัวเรือนชาวบ้าน อยู่กันแบบครอบครัวขยายหรือครอบครัวขนาดใหญ่เป็นส่วนมากครอบครัวมีความอบอุ่น

           -   ประชาชนส่วนใหญ่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง  มีการตรวจสุขภาพอนามัยตลอด

           -   เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาภาคบังคับทุกคน ประชาชนที่มีอายุ 15-60 ปี อ่านและเขียนได้เป็นส่วนใหญ่ (ประมาณ 32 % เขียนและอ่านภาษไทยไม่ได้)

           -   ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ติดสุรา ไม่ติดบุหรี่ มีการปฏิบัติกิจทางศาสนาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

 

รายชื่อผู้นำในหมู่บ้าน ณ ปัจจุบัน

           1) นายอภิรมย์    พะชิ                ตำแหน่ง  ผู้ใหญ่บ้าน

           2)                                       ตำแหน่ง  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

           3)                                       ตำแหน่ง  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

           4) นายทวี         มีทูบี                ตำแหน่ง  สมาชิก อบต.

           5) นายขวัญชัย    แหล่โพแหนะ      ตำแหน่ง  สมาชิก อบต.

           6) นายทวี         มีทูบี                ตำแหน่ง  ประธานกองทุนหมู่บ้าน (เงินล้าน)

           7) นางอัญชลี      แหล่โพแหนะ      ตำแหน่ง  ประธานแม่บ้าน

           8)                                       ตำแหน่ง  ประธานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

          9)                          ตำแหน่ง ประธานกองทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน